พุยพุย

วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 14
วันจันทร์  ที่ 14 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2559 

เนื้อหาที่เรียน 

           อาจารย์ให้นักศึกษามาส่งโครงการที่ให้ไปปรับแก้ในสับดาห์ก่อน และแก้ไขส่วนที่ยังผิดอีกครั้ง


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- นำสิ่งที่อาจารย์แนะนำไปแก้ไขและปรับปรุงให้ดีเพื่อที่จะเป็นแนวทางในการทำโครงการต่อไป

การประเมินผล
ประเมินตนเอง :ตั้งใจฟังคำแนะนำและช่วยเพื่อนแก้โครงการกลุ่ม
ประเมินเพื่อน  : เพื่อนๆตั้งใจฟังที่อาจารย์แนะนำ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ช่วยแก้และให้คำปรึกษาทุกข้อที่สงสัย

การบันทึกครั้งที่ 13
วันจันทร์  ที่ 7 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2559 
เนื้อหาที่เรียน 
     
              อาจารย์ได้ให้แต่ละกลุ่มเข้ามาพบทีละกลุ่มเพื่อคุยเรื่องโครงการรายกลุ่ม เพื่อที่จะนำไปปรับแก้ได้ถูกต้อง





การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- นำสิ่งที่อาจารย์แนะนำไปแก้ไข

การประเมินผล
ประเมินตนเอง :ตั้งใจฟังคำแนะนำและช่วยเพื่อนแก้โครงการกลุ่ม
ประเมินเพื่อน  : เพื่อนๆตั้งใจฟังที่อาจารย์แนะนำ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ช่วยแก้และให้คำปรึกษาทุกข้อที่สงสัย



การบันทึกครั้งที่ 12
วันจันทร์ที่ 31 เดือนตุลาคม พ.ศ.2559

เนื้อหาที่เรียน 
          
             เริ่มต้นด้วยการนำเสนอเกี่ยวกับการทำโครงการของแต่ละกลุ่ม ที่ได้ทำแบบสอบถามผู้ปกครอง เพื่อจะได้รู้ถึงปัญหาของการลงพื้นที่ในการไปทำแบบสอบถาม และวิธีการแก้ปัญหาของแต่ละกลุ่ม  จากนั้นให้สรุปข้อมูลเป็นกลุ่ม

 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามของกลุ่มดิฉัน




การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- นำวิธีการแก้ปัญหาที่เพื่อนๆได้แนะนำไปใช้เมื่อเจอปัญหานั้นๆ

การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังและช่วยเพื่อนๆในกลุ่มสรุปผลของแบบสอบถาม
ประเมินเพื่อน  : เพื่อนๆก็ต่างตั้งใจสรุปแบบสอบถามตัวเอง
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์คอยดูแลและให้คำแนะนำได้ดีมาก



การบันทึกครั้งที่ 11
วันจันทร์ที่ 24 เดือนตุลาคม พ.ศ.2559

หยุดชดเชยวันปิยมหาราช


          
             เนื่องจากวันนี้ (23 ต.ค.) เป็นวันปิยมหาราช ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งวันที่สำคัญของคนไทย ทีมข่าว MThai จึงได้รวบรวมพระราชกรณียกิจในความทรงจำที่สำคัญของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5  มาไว้ให้ได้ระลึกถึงกัน ดังนี้
พระราชกรณียกิจอันสำคัญ ที่ทำให้พระองค์ทรงได้รับพระสมัญญาว่า สมเด็จพระปิยมหาราช ก็คือ การเลิกทาส สมัยที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัตินั้น ประเทศไทยมีทาสเป็นจำนวนกว่าหนึ่งในสามของพลเมือง ของประเทศ  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีเลิกทาส การป้องกันการเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส และจักรวรรดิอังกฤษ
นอกจากนี้ ได้มีการประกาศออกมาให้มีการนับถือศาสนาโดยอิสระในประเทศ บุคคลศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลามสามารถปฏิบัติการในศาสนาได้อย่างอิสระ รวมทั้งได้มีการนำระบบจากทางยุโรปมาใช้ในประเทศไทย ได้แก่ ระบบการใช้ธนบัตร และเหรียญบาท ใช้ระบบเขตการปกครองใหม่ เช่น มณฑลเทศาภิบาล จังหวัด และอำเภอ

             ด้านการสร้างถนน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ตัดถนนราชดำเนิน และถนนเยาวราช ส่วนถนนสายอื่นๆ ที่โปรดให้สร้างและบูรณะเพื่อความสะดวกในการสัญจรของราษฎร ได้แก่ ถนนบำรุงเมือง ถนนเจริญกรุง ถนนวังบูรพา ถนนอุณากรรณ ถนนดินสอ ถนนจักรพงษ์ ถนนพระอาทิตย์ ถนนพระสุเมรุ ถนนจักรเพชร ถนนมหาชัย ถนนสี่พระยา เป็นต้น
ด้านการสร้างสะพาน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานเชื่อมถนนข้ามคลอง เช่น สะพานผ่านฟ้าลีลาศ สะพานมัฆวานรังสรรค์ ฯลฯ และยังได้จัดสร้างสะพาน ขึ้นเพื่อสาธารณประโยชน์เป็นประจำทุกปีในวันเฉลิมพระชนมพรรษาจนถึงปีสวรรคต รวม ๑๗ สะพาน
โดยพระราชทานนามสะพานขึ้นด้วยคำว่า “เฉลิม” และ ตัวเลขต่อท้ายระบุพระชนมพรรษา เช่น สะพานเฉลิมศรี ๔๒ สร้างเมื่อพุทธศักราช ๒๔๓๘ ขณะเจริญพระชนมพรรษา ๔๒ พรรษา นับเป็นสะพานแรก และสะพานสุดท้ายคือ สะพานเฉลิมสวรรค์ ๕๘
ด้านการไปรษณีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมไปรษณีย์เป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๖ มีการส่งจดหมายพัสดุสิ่งของเป็นครั้งแรก เฉพาะภายในกรุงเทพฯ แล้วขยายออกบริเวณตามหัวเมือง เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๒๘
             ด้านการเสด็จประพาส  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงชื่นชอบการเสด็จประพาสเป็นยิ่งนัก พระองค์เสด็จประพาสทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ บางครั้งทรงปลอมพระองค์เป็นสามัญชนบ้าง ปลอมเป็นขุนนางบ้าง เพื่อเสด็จพระราชดำเนินดูแลทุกข์สุขของประชาชนในหัวเมืองต่างๆ มากมาย การเสด็จประพาสบ่อยครั้ง ทำให้ทอดพระเนตรเห็นสิ่งต่างๆ ทั้งที่ดี และไม่ดี สิ่งเหล่านี้พระองค์ได้นำไปพัฒนาบ้านเมืองให้มีความเจริญก้าวหน้าขึ้น
เราตั้งใจอธิษฐานว่า เราจะกระทำการจนเต็มกำลังอย่างที่สุด ที่จะให้กรุงสยามเป็นประเทศอันหนึ่ง ซึ่งมีอิสรภาพ และความเจริญ  กระแสพระราชดำรัสที่บ่งบอกถึงพระราชปณิธานอันแน่วแน่ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช รัชกาลที่5
ขณะนั้นประเทศแถบอินโดจีนได้ถูกรุกรานจากประเทศมหาอำนาจทางตะวันตก เนื่องจากประเทศในแถบอินโดจีนเป็นประเทศที่ด้อยพัฒนา ทำให้ตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศมหาอำนาจได้โดยง่าย รวมถึงประเทศไทยก็เผชิญเช่นกัน ด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมแกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีพระราชประสงค์ที่จะเสด็จประพาสยุโรป เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศมหาอำนาจเหล่านั้น อีกทั้งต้องการศึกษาวิทยาการต่างๆ เพื่อนำมาปรับปรุงประเทศ และจากการเสด็จประพาสยุโรปของพระองค์ในครั้งนี้ก็ได้นำความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาการมาสู่บ้านเมืองของเรา

               การเสด็จประพาสยุโรปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ใน พ.ศ.๒๔๔๐ ได้ส่งผลดีในการเจริญสัมพันธไมตรีกับมหาอำนาจตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการต้อนรับอย่างสมพระเกียรติของพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ ๒ แห่งรัสเซีย
                ซึ่งการเสด็จฯ เยือนรัสเซียครั้งนั้นนับว่าเป็นจุดสำคัญที่สุดของการเสด็จประพาสยุโรปทั้งหมด ข่าวการรับเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่รัสเซียในครั้งนั้น ทำให้ราชสำนักต่าง ๆ ในยุโรปตระหนักถึงความสำคัญของประเทศไทย ทำให้เกิดความเกรงใจอยู่ไม่น้อย
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับมหาอำนาจตะวันตกในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้สะท้อนให้เห็นนโยบายของไทยที่ยอมโอนอ่อนผ่อนตาม และยอมเสียดินแดนส่วนน้อย เพื่อรักษาดินแดนส่วนใหญ่ไว้
                ทั้งนี้ เพราะไทยเป็นประเทศเล็กที่มีกำลังน้อย ท่ามกลางประเทศเพื่อนบ้านที่ถูกยึดครองไปจนหมด ไทยจึงไม่อาจต่อรองด้วยกำลังกับชาติมหาอำนาจ แต่จะต้องพยายามแก้ปัญหาโดยใช้ “กลยุทธ์ทางการทูต” ในการรักษาเอกราชของชาติไว้ เห็นได้ชัดจากความสัมพันธ์ที่เกิดจากมิตรไมตรีขององค์ประมุขของไทยและ รัสเซีย ได้ช่วยให้ไทยสามารถดำเนินนโยบายถ่วงดุลอำนาจกับอังกฤษและฝรั่งเศส เพื่อรักษาอธิปไตยของไทยไว้ตามแนวสันติวิธี


การบันทึกครั้งที่ 10
วันจันทร์ที่ 17 เดือนตุลาคม พ.ศ.2559
เนื้อหาที่เรียน 

     ในสัปดาห์นี้อาจารย์มอบหมายให้ไปออกแบบสอบถามและส่ง เมื่อผ่านแล้วให้ลงพื้นที่เอาแบบสอบถามไปสอบถามผู้ปกครอง

แบบสอบถามกลุ่มดิฉัน





การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- เป็นการลงพื้นที่จริงเพื่อใช้ในโครงการที่กำลังจะทำและเป็นแบบให้โครงการต่อไปได้

การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ได้ประสบการณ์ในการลงพื้นที่ 
ประเมินเพื่อน  : เพื่อนๆก็ต่างลงพื้นที่ทำแบบสอบถามตัวเอง
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์คอยให้คำแนะคำและช่วยในการดูหัวข้อ



การบันทึกครั้งที่ 9
วันจันทร์ที่ 10 เดือนตุลาคม พ.ศ.2559
เนื้อหาที่เรียน 

         การเขียนโครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย  โดยร่างโครงการที่แต่ละกลุ่มจะทำ เมื่อเขียนโครงการเสร็จ ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอโครงการ


ตัวอย่างการเขียนโครงการ


รูปแบบการเขียนโครงการ


กลุ่มที่ 1 โครงการฟ.ฟัน ฟันสวย



กลุ่มที่ 2 โครงการการใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย



กลุ่มที่ 3 หนังสือนิทานสร้างสรรค์สานสัมพันธ์สู่ครอบครัว



กลุ่มที่ 4 อาหารเด็กวัยใส



กลุ่มที่ 5 สื่อรักแสนสนุก  เสริมสร้างเพื่อลูกน้อย


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- ใช้ในการเขียน ทำโครงการ โครงงาน ให้ความรู้ผู้ปกครอง

การประเมินผล
ประเมินตนเอง : วันนี้ก็ตั้งใจทำงานช่วยเพื่อนๆช่วยกันเขียนโครงการ 
ประเมินเพื่อน  : เพื่อนๆตั้งใจเขียนโครงการของแต่ละกลุ่มออกมาได้ดี และผ่านทุกกลุ่ม
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มีการอธิบายและยกตัวอย่างเพื่อใ้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้น


การบันทึกครั้งที่ 8
วันจันทร์ที่ 4 เดือนตุลาคม พ.ศ.2559

เนื้อหาที่เรียน 

       นำเสนองานวิจัยเกี่ยวกับการให้การศึกษาผู้ปกครอง  ซึ่งแต่ละกลุ่มได้ไปศึกษาค้นคว้ามานำเสนอในวันนี้ มีทั้งหมด 7 กลุ่ม 

กลุ่มที่ 1 
งานวิจัยเรื่อง : การให้ความรู้ผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการรู้หนังสือของเด็กวัยเตาะแตะ


กลุ่มที่ 2
งานวิจัยเรื่อง : การประยุกต์กระบวนการจิตตปัญญาศึกษาและเครือข่ายสังคมออนไลน์ในการส่งเสริมความรู้เด็กปฐมวัยสำหรับผู้ปกครอง

 กลุ่มที่ 3
งานวิจัยเรื่อง : การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของผู้ปกครองกับพฤติกรรมการมีส่วมร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนรู้

กลุ่มที่ 4
งานวิจัยเรื่อง : การศึกษาความต้องการของผู้ปกครองเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ควรปลูกฝังและพฤติกรรมที่ปรากฎด้านคุณธรรมของเด็กปฐมวัย

กลุ่มที่ 5
งานวิจัยเรื่อง : การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามหลักสังคหวัตถุ4 ต.ธารทหาร อ.หนองบัว จ.นครสวรรค์

กลุ่มที่ 6
งานวิจัยเรื่อง : ความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการศึกษาปฐมวัย

 กลุ่มที่ 7
งานวิจัยเรื่อง : ความสัมพันธ์ระหว่างการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยในสถานศึกษา จ.ปทุมธานี

แบบประเมิน



งานวิจัยกลุ่มดิฉัน

           งานวิจัย เรื่อง  การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของผู้ปกครองกับพฤติกรรม การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนอนุบาลกุ๊กไก่ เขตคลองเตย  กรุงเทพมหานคร

การศึกษาระดับ : มหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ปีที่ทำวิจัย : 2554
ผู้วิจัย :  วิวรรณ  สารกิจปรีชา

บทนำ
ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหาการวิจัย
         ประเด็นที่ 1 เพื่อศึกษาคุณลักษณะของผู้ปกครองนักเรียนโรงเรีนอนุบาลกุ๊กไก่ เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร ได้แก่ อาชีพ ระดับการศึกษาและการบริการทางวิชาการ
         ประเด็นที่ 2 เพื่อศึกษาพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรีนอนุบาลกุ๊กไก่ เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร ใน 6 ด้าน ได้แก่ การอบรมเลี้ยงดูเด็ก การติดต่อสื่อสาร การอาสาสมัคร การเรียนรู้ที่บ้าน  การตัดสินใจและการมีส่วนร่วมกับชุมชน
          ประเด็นที่ 3 เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของผู้ปกครอง ได้แก่ อาชีพ ระดับการศึกษา และการรับบริการทางวิชาการกับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนนักเรียนโรงเรีนอนุบาลกุ๊กไก่ เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร
          ประเด็นที่ 4 เพื่อศึกษาตัวแปรที่สามารถทำนายพฤติกรรมการมีส่วนร่วมผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรีนอนุบาลกุ๊กไก่ เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร

วัตถุประสงค์ของการวิจัย 
1.จัดประสบการณ์ที่เน้นให้เด็กเรียนเกี่ยวกับสิ่งที่คุ้นเคยและเกิดขึ้นหรือมีอยุ่ในชีวิตประจำวันของเด็ก
2.จัดประสบการณ์ให้เด็กเรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย
3.จัดสภาพแวดล้อมให้เด็กเรียนได้ทุกแห่งในโรงเรียน
4.ให้เด็กได้เรียนรู้ในสิ่งที่เด็กสามารถพบเห็นและเรียนรู้ทั่วไปไม่จำกัดเฉพาะในโรงเรียนเท่านั้น
5.จัดให้เด็กมีโอกาสเรียนรู้จากกิจกรรมเสรีของเด็กและกิจกรรมที่กำหนดกฎเกณฑ์อย่างสมดุล
6.จัดให้เด็กมีโอกาสทั้งภายในและนอกห้องเรียน

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
 การให้ความรู้ด้านการพัฒนานักเรียนเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับผู้ปกครองได้เป็นอย่างดี จะส่งผลให้ผู้ปกครองเลี้ยงดูได้ถูกต้องและมีพัฒนาการที่ดี จะส่งผลให้ผู้ปกครองเลี้ยงดูได้ถูกต้องและมีพัฒนาการที่ดี วิธีการให้ความรู้ความสามารถทำได้อย่างหลากหลาย ส่วนการให้ความรู้ทั่วไปสามารถจัดทำเป็นรูปแบบวารสาร การอบรมสัมมนา การจัดป้ายนิเทศ ซึ่งควรเป็นการให้บริการที่หลากหลายและน่าสนใจ

ขอบเขตของการศึกษาวิจัย
1.ขอบเขตด้านเนื้อหา
 การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของผู้ปกครองกับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ในการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนอนุบาลกุ๊กไก่ เขตคลองเตย  กรุงเทพมหานคร  จำแนกตามคุณลักษณะผู้ปกครองด้านอาชีพ  ระดับการศึกษา และการรับบริการทางวิชาการ
2.ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
 ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย
 2.1 ประชากร ได้แก่ ผู้ปกครองของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลกุ๊กไก่ เขตคลองเตย  กรุงเทพมหานคร 
 2.2 กลุ่มตัวอย่าง  ผู้ปกครองของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลกุ๊กไก่ เขตคลองเตย  กรุงเทพมหานคร ที่มีบุตรหลานกำลังศึกษาในระดับชั้นอนุบาล 1 – ชั้นอนุบาลปีที 3 ภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2553 จำนวน 199 คน

ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
ตัวแปรอิสระ คือ คุณลักษณะผู้ปกครอง
 1.อาชีพ
  1.1 รับราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ
  1.2 พนักงานเอกชน
  1.3 ทำงานส่วนตัว
 2.ระดับการศึกษา
  2.1 ปริญญาตรีและต่ำกว่า
  2.2 สูงกว่าปริญญาตรี
 3.การรับบริการทางวิชาการ
  3.1ความรู้ในการพัฒนานักเรียน
  3.2ความรู้ทั่วไป
ตัวแปรตาม คือ พฤติกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนซึ่งประกอบด้วย
 1.การอบรมเลี้ยงดูเด็ก
 2.การติดต่อสื่อสาร
 3.การอาสาสมัคร
 4.การเรียนรู้ที่บ้าน
 5.การตัดสินใจ
 6.การมีส่วนร่วมกับชุมชน

นิยามศัพท์เฉพาะ
 1.โรงเรียนอนุบาลกุ๊กไก่ หมายถึง โรงเรียนเอกชนที่จัดการศึกษาปฐมวัยสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ทำการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1- ชั้นอนุบาลปีที่ 3
2.ผู้ปกครอง หมายถึง พ่อแม่หรือญาติพี่น้องหรือบุคคลอื่นที่ให้การอุปการะ เลี้ยงดูเด็กเป็นผู้ให้ความรัก ความเอาใจใส่ อบรมสั่งสอน ตลอดจนให้การศึกษาแก่เด็ก
 3.นักเรียน หมายถึง เด็กที่กำลังศึกษาในระดับปฐมวัยวัย (ชั้นอนุบาลปีที่ 1-3) ภาคเรียน
ที่ 1 ปีการศึกษา 2553 ในโรงเรียนอนุบาลกุ๊กไก่ เขตคลองเตย  กรุงเทพมหานคร 
 4.คุณลักษณะของผู้ปกครอง หมายถึง สถานะของบุคคลของผู้ปกครองนักเรียนในโรงเรียนอนุบาลกุ๊กไก่ เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีอยู่ในตัวตามสภาพของแต่ละบุคคล ได้แก่ อาชีพ  ระดับการศึกษา และการรับบริการทางวิชาการ
 5.พฤติกรรมกรมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน หมายถึง การกระทำหรืออาการแสดงออกในการที่ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ
วิธีดำเนินการวิจัย
 ประชากร ได้แก่ ผู้ปกครองของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลกุ๊กไก่ เขตคลองเตย  กรุงเทพมหานคร 
กลุ่มตัวอย่าง
 ผู้ปกครองของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลกุ๊กไก่ เขตคลองเตย  กรุงเทพมหานคร ที่มีบุตรหลานกำลังศึกษาในระดับชั้นอนุบาล 1 – ชั้นอนุบาลปีที 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 199 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้สร้างและพัฒนาขึ้นเป็นแบบสอบถาม 3 ตอนคือ
 ตอนที่ 1 เป็นข้อมูลเกี่ยวกับคุณลักษณะผู้ปกครอง ได้แก่ อาชีพ และระดับการศึกษาเป็นแบบตรวจสอบรายการ (Checklist)
 ตอนที่ 2 แบบสอบถามการรับบริการทางวิชาการ การรับความรู้ในการพัฒนานักเรียนและการรับความรู้ทั่วไปของผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนอนุบาลกุ๊กไก่ เขตคลองเตย  กรุงเทพมหานคร โดยผู้วิจัยสร้างแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า มี 5 ระดับ คือ น้อยที่สุด น้อย ปานกลาง มากและมากที่สุด

การดำเนินการวิจัย 
            ขั้นตอนในการสร้างแบบสัมภาษณ์
            ขั้นที่ 1 ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและหลักการจากหนังสือ วารสาร เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
            ขั้นที่ 2 กำหนดโครงสร้างของแบบสัมภาษณ์และเนื้อหาให้ตรงกับนิยามศัพท์เฉพาะ
            ขั้นที่ 3 สร้างแบบสัมภาษณ์ตามขอบเขตเนื้อหา เสนออาจารย์ผู้ควบคุมสารนิพนธ์ และนำมาปรับปรุงแก้ไขให้ชัดเจน ถูกต้องและตรงประเด็นตามคำแนะนำของอาจารย์ผู้ควบคุม
              ขั้นที่ 4 นำแบบสัมภาษณ์ไปให้ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญทางด้านการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ระดับปฐมวัย การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ระดับปฐมวัยและการวัดผล / ประเมินผลตามสภาพจริงและอิงพัฒนาการของผู้เรียน เพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา วิเคราะห์ค่าดัชนีความสอดคล้อง ซึ่งได้ค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.8-1.0  
            ขั้นที่ 5 นำแบบสัมภาษณ์ที่ปรับปรุงแก้ไขและให้อาจารย์ผู้ควบคุมสารนิพนธ์ และผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบอีกครั้งเพื่อความสมบูรณ์
            ขั้นที่ 6 ทดลองใช้ (try ont) กับผู้ปกครองที่ต่างอาชีพ ต่างระดับการศึกษา และเป็นผู้ปกครองของเด็กที่ศึกษาอยู่ในระดับชั้นที่ต่างกัน จำนวน 3 คน และได้แบบสัมภาษณ์ที่สมบูรณ์
             ขั้นที่ 7 นำแบบสัมภาษณ์ที่สมบูรณ์ไปใช้สัมภาษณ์ผู้ปกครอง จำนวน 18 คน
             ขั้นที่ 8 สรุปจากแบบบันทึกการสัมภาษณ์เพื่อนำมาจัดทำแบบสอบถาม

สรุปผลการวิจัย
             ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของผู้ปกครองกับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนอนุบาลกุ๊กไก่ เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยสรุปข้อค้นพบจากการศึกษาวิจัยได้ดังนี้
             1.การศึกษาคุณลักษณะของผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนอนุบาลกุ๊กไก่ เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร พบว่าผู้ปกครองที่มีอาชีพรับราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานเอกชนทำงานส่วนตัว มีระดับการศึกษาปริญญาตรีและต่ำกว่า และจบการศึกษาระดับสูงกว่าปริญญาตรี มีการรับบริการอยู่ในระดับรวมอยู่มาก ซึ่งด้านการรับความรู้ในการพัฒนานักเรียนและด้านการรับความรู้ทั่วไป มีระดับการรับบริการ อยู่ในระดับมากทั้งสองด้าน 
               2.การศึกษาพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลกุ๊กไก่ เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร โดยรวมมีการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ด้านการเรียนรู้ที่บ้าน การอบรมเลี้ยงดูเด็ก การติดต่อสื่อสาร การตัดสินใจมีการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านการมีส่วนร่วมกับชุมชนพบว่าผู้ปกครองมีส่วนร่วมอยู่ในระดับปานกลาง แต่ด้านการอาสาสมัครมีการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับน้อย
3.ผลของการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของผู้ปกครองกับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองพบว่า คุณลักษณะของผู้ปกครองที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1 ได้แก่ คุณลักษณะของผู้ปกครองในการรับบริการทางวิชาการ ด้านความรู้ในการพัฒนานักเรียน โดยมีค่าความสัมพันธ์เท่ากับ .407 ส่วนด้านการรับความรู้ทั่วไป มีค่าความสัมพันธ์เท่ากับ .334 สำหรับตัวแปรด้านอาชีพ และระดับการศึกษา ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน เมื่อพิจารณาคำสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ กับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนมีค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ระหว่าง -.096-.407
              4. ผลของการวิเคราะห์ตัวแปรที่มีความสามารถในการทำนายพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน พบว่า คุณลักษณะของผู้ปกครองในการรับบริการทางวิชาการ ด้านความรู้ในการพัฒนานักเรียนสามารถทำนายพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนโรงเรียนอนุบาลกุ๊กไก่ เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร โดยความรู้ในการพัฒนานักเรียนเป็นตัวทำนายที่มีความสามารถในการทำนายมากที่สุด ได้ร้อยละ 17(R2=0.170)

ศึกษางานวิจัยเพิ่มได้ที่
 http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Ed_Adm/Vivan_S.pdf

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- งานวิจัยที่เพื่อนๆนำเสนอ จะเป็นแนวทางในการทำวิจัยครั้งต่อไปของตัวเอง เป็นการนำมาประยุกต์และปรับใช้ให้ได้ประโยชน์มากที่สุด

การประเมินผล
ประเมินตนเอง:  นำเสนอได้ดีมีความพร้อม
ประเมินเพื่อน :   เพื่อนๆนำเสนอได้ดี ให้ประโยชน์และเนื้อหาครบถ้วน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ก็ให้ความรู้เกี่ยวกับการนำเสนองานวิจัยและเพิ่มเติมส่วนที่ขาดหาย



การบันทึกครั้งที่ 7
วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ.2559 


***สอบกลางภาค ภาคเรียนที่ 1/2559***


การบันทึกครั้งที่ 6
วันจันทร์ที่19กันยายน พ.ศ.2559 

เนื้อหาที่เรียน 
เอกสารประกอบการเรียน

บทที่ 5 รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองในสถานศึกษา

รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับชั้นเรียน
-ข่าวสารประจำสัปดาห์ เป็นข้อมูลข่าวสารที่ส่งไปถึงผู้ปกครองเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมของเด็กที่โรงเรียนและแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่เด็กที่บ้านเพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจและร่วมกันพัฒนาเด็กไปในทิศทางเดียวกัน ข้อมูลประจำสัปดาห์

- จดหมายข่าวและกิจกรรม เป็นการนำเสนอความรู้ให้แก่ผู้ปกครอง ในชั้นเรียนให้รับรู้ถึงข่าวสารและกิจกรรมที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ในการพัฒนาเด็ก โดยจัดส่งให้ผู้ปกครองในทุกสัปดาห์หรือตามความเหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ สิ่งที่นำเสนอในจดหมายข่าวและกิจกรรมอาจจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องดังนี้
- ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับเด็กและผู้ปกครอง
- กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการสำหรับผู้ปกครอง เช่น นิทาน ศิลปะ ภาษา ฯลฯ
- ความรู้สำหรับผู้ปกครอง ฯลฯ
-การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองในการอบรมเลี้ยงดูเด็กต่ำกว่า 3 ปี ผ่านโรงพยาบาลชุมชนและสถานีอนามัย เป็นโครงการภายใต้งานวิจัยของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เกิดจากความต้องการให้ครอบครัวเป็นหลักของการพัฒนาเด็กในช่วงอายุต่ำกว่า 3 ปี ด้วยการให้พ่อแม่ ผู้ปกครองเป็นผู้เลี้ยงดูที่มีคุณภาพ โดยใช้รูปแบบการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ประกอบด้วย 4 รูปแบบ คือ
- วิธีกระบวนการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วม
- วิธีการสนทนากลุ่ม
- วิธีอภิปรายกลุ่ม
- วิธีการบรรยาย
-โครงการ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กไทย ดำเนินงานโดยสำนักสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต เป็นโครงการที่มุ่งเร่งพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กและเยาวชนไทย โดยผลักดันให้ครอบครัวมีส่วนร่วมที่สำคัญ ด้วยการจัดทำชุดองค์ความรู้และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กและเยาวชนไทย เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้จริง ประกอบด้วย
- แบบสังเกตความคิดสร้างสรรค์ในเด็กสำหรับพ่อแม่
- คู่มือความรู้และการจัดกิจกรรมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
- หลักสูตรการเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์
- ซีดีการเรียนรู้ด้วยตนเองเรื่อง  “การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์”
- จัดอบรมพ่อแม่ผู้ปกครองเรื่อง  “การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์”


-ป้ายนิเทศให้ความรู้ผู้ปกครอง จัดเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ปกครองอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งสามารถจัดได้บริเวณหน้าชั้นเรียนของทุกห้องเรียน โดยนำข้อมูลความรู้ที่จำเป็นสำหรับผู้ปกครอง จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย เช่น
- ข้อมูลจากนิตยสาร หนังสือพิมพ์ วารสาร
-  เกร็ดความรู้หรือสาระน่ารู้สำหรับผู้ปกครอง
- ภาพถ่ายกิจกรรมในชั้นเรียน
- ผลงานแห่งความภาคภูมิใจ
- กิจกรรมในโอกาสพิเศษ เช่น ทัศนศึกษา การแสดงในวันปีใหม่ ฯลฯ

-การสนทนา การสนาเป็นรูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองที่เข้าถึงและตรงมากที่สุด การสนทนาเป็นแนวทางหนึ่งของการสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีเพื่อผู้ปกครอง และช่วยในการให้ความรู้ผู้ปกครองเป็นไปได้อย่างราบรื่น โดยมีวัตถุประสงค์ในการสนทนาดังนี้
- เพื่อให้ครูและผู้ปกครองได้มีโอกาสพบปะพูดคุยและแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาเด็ก
- เพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจถึงแนวทางการดำเนินงานของโรงเรียน
- เพื่อให้ครูและผู้ปกครองได้แลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมเด็กขณะที่อยู่ที่โรงเรียนและที่บ้าน
-รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับสถานศึกษา ห้องสมุดผู้ปกครอง ป้ายนิเทศ นิทรรศการ มุมผู้ปกครอง การประชุม จุลสาร คู่มือผู้ปกครอง ระบบอินเทอร์เน็ต




คำถามท้ายบทที่ 5

1. รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับชั้นเรียน ครูประจำชั้นควรพิจารณาในการเลือกใช้รูปแบบใดบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ     1.ข่าวสารประจำสัปดาห์ เช่น เรื่องน่ารู้สำหรับผู้ปกครอง 
            2.จดหมายข่าวและกิจกรรม เช่น กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการสำหรับผู้ปกครอง นิทาน ศิลปะ 
            3.ป้ายนิเทศให้ความรู้ผู้ปกครอง เช่น ข้อมูลจากนิตยสาร หนังสือพิมพ์ วารสาร
            4.การสนทนา เช่น การนัดประชุมผู้ปกครอง

2. รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับสถานศึกษามีรูปแบบใดบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ     1.ห้องสมุดผู้ปกครองเช่น มีเฉพาะในโรงเรียนบางแห่งที่จัดสำหรับผู้ปกครอง
            2.มุมผู้ปกครอง เช่น ดูภาพกิจกรรมของเด็ก
            3.ป้ายนิเทศ เช่น แนะนำสถานศึกษา ข้อมูลกิจกรรมของเด็ก
            4.นิทรรศการ เช่น นิทรรศการเพื่อการประชาสัมพันธ์
            5.การประชุม เช่น แลกเปลี่ยนทัศนคติระหว่าสถานศึกษากับผู้ปกครอง
            6.จุลสาร เช่น เรื่องราวของเด็กๆ
            7.คู่มือผู้ปกครอง เช่น เอกสารเกี่ยวกับปรัชญาและเป้าหมายของสถานศึกษา
            8.ระบบอินเทอร์เน็ต เช่น กิจกรรมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ข่าวสาร ข้อมูล

3. นักศึกษามีวิธีการหรือแนวทางแก้ปัญหาผู้ปกครองที่ไม่ให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมโครงการหรือกิจกรรมให้ความรู้ผู้ปกครอง จงอธิบาย
ตอบ    พูดถึงเหตุผลที่ต้องจัดกิจกรรมและข้อดีหรือผลประโยชน์ที่ผู้ปกครองและเด็กจะได้รับ

4. การจัดกิจกรรมการให้ความรู้ผู้ปกครองมีความสำคัญและจำเป็นอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ มีความสำคัญมาก ทำให้ครูและผู้ปกครองได้ปรับพฤติกรรมให้เด็กส่งเสริมพัฒนาการที่ดี และปรับปรุงพฤติกรรมไม่ดีร่วมกัน

5. รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองที่มีประสิทธิภาพ มีลักษณะของรูปแบบอย่างไร จงอธิบายพร้อมแสดงความคิดเห็น
ตอบ  รูปแบบในการให้ความรู้ผู้ปกครองที่มีประสิธิภาพ สถานศึกษาสามารถจัดให้บริการแก่ผู้ปกครอง โดยมีข้อคิดที่สำคัญคือการคิดหาสื่อและช่องทางที่จะทำให้ความรู้ต่างๆ ถึงผู้ปกครองอย่างถั่วถึง รวดเร็ว และมีการตอบกลับ เพื่อให้สถานศึกษาได้รับรู้ว่าผู้ปกครองตระหนักถึงบทบาทของตนเองต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กและทำให้การศึกษาระหว่างบ้านและสถานศึกษามีความเข้าใจที่ตรงกัน 

การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน 
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียนทุกคน 
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ เตรียมเนื้อหามาสอนได้ครบถ้วน และมอบหมายงานให้ทำ